วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

Diary

ประวัติมวยไทย ความเป็นมาของ กีฬามวยไทย 

   มนุษย์จะต่อสู้เพื่อวัตถุประสงค์ใดก็แล้วแต่จุดมุ่ง หมายสูงสุดของการต่อสู้ ความอยู่รอดของชีวิตจากการต่อสู้มนุษย์ก็ได้พยายามคิดค้นวิธีการต่อสู้ เพื่อป้องกันให้ถึงแก่ชีวิตได้ภายในระยะเวลาอันสั้น หรือเมื่อทั้งสองฝ่ายมีอาวุธคู่มือการทำร้ายกันก็ทำได้ลำบากต่างก็ต้องเกรง ซึ่งกันและกันมนุษย์ก็พยายามใช้ความคิดที่จะหาหนทางเอาชนะ เอาชีวิตของคู่ต่อสู้ให้ง่ายและรวดเร็ว ป้องกันชีวิตตนเองให้ปลอดภัยมากขึ้นพยายามคิดค้นศึกษา ทดลอง ดัดแปลงแก้ไข เพื่อหาแนวทางที่จะต่อสู้และป้องกันตัวทั้งที่มีอาวุธและไม่มีอาวุธ ทำให้เกิดศิลปะการต่อสู้และป้องกันตัวขึ้นมา
มนุษย์ในแต่ละซีกโลกหนึ่ง หรือแต่ละภาคของโลก ต่างก็มีวิธีการต่อสู้และป้องกันตัวเป็นของตนเอง และแตกต่างกับการต่อสู้ของมนุษย์ในอีกซีกโลกหนึ่ง ทั้งนี้เพราะธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัวแตกต่างกัน เช่น มนุษย์ในแถบขั้วโลกมีหิมะน้ำแข็งจับอยู่ตลอดปีหรือมีอากาศหนาวจัด การแต่งกายจะต้องแต่งด้วยเสื้อผ้าหนาๆ เพื่อป้องกันความหนาวที่จะมาทำอันตรายต่อผิวหนัง ความคล่องตัวในการเตะต่อยไม่ค่อยมีการต่อสู้มักจะใช้ประโยชน์จากเครื่องแต่ง กายที่หนา โดยการจับรั้งเพื่อทำการทุ่ม หรือใช้ขอบเสื้อส่วนที่เป็นปกและคอเสื้อรัดคอหรือใช้เกี่ยวพันไม่ให้คู่ ต่อสู้เคลื่อนไหวได้ ซึ่งเป็นแขนงหนึ่งของการต่อสู้ป้องกันตัวแบบจับทุ่ม ได้แก่ ยูโด มวยปล้ำ ไอคิโด
สำหรับมนุษย์ที่เกิดในบริเวณอากาศอบอุ่นและค่อนข้างร้อน การแต่งกายจะแต่งด้วยเสื้อผ้าที่บาง ไม่รุ่มร่าม มีความคล่องตัวในการเตะต่อยดีการต่อสู้จึงมักจะอาศัยการเตะต่อย ซึ่งเป็นแขนงหนึ่งของการต่อสู้ป้องกันตัว แบบเตะต่อย เช่น มวยไทย มวยสากล เสี้ยวลิ้มของจีนคาราเต้ของญี่ปุ่น หรือเทควันโดของเกาหลี เราจะสังเกตเห็นว่า ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวบางประเภทจะมีลักษณะคล้ายๆ กัน เช่นแขนงวิชาการเตะต่อย อาจกล่าวว่า ศิลปะประเภทนี้ก็อาจจะกล่าวได้ยาก เพราะการคิดค้นทดลองฝึกฝน มักจะเลียนแบบธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นความคล้ายคลึงกันจึงย่อมจะเป็นไปได้
มนุษย์ได้พยายามคิดค้นการต่อสู้มือเปล่าเพื่อให้ตนเอง ปลอดภัยจากสิ่งรอบข้าง โดยใช้อวัยวะของร่างกายเป็นอาวุธเข้าต่อสู้ เช่น มือและเท้า กำหนดระเบียบแบบแผนมีหลักเกณฑ์ในการต่อสู้สิ่งต่างๆ รวมกันเรียกว่า "มวย"
บรรพบุรุษมีความเฉลียวฉลาดในการคิดค้น ดัดแปลงและพลิกแพลงในการใช้อวัยวะทุกส่วนของร่างกาย เช่น มือ, เท้า, เข่า, ศอก และศีรษะเข้าต่อสู้ป้องกัน ปิดป้องส่วนที่อ่อนแอของร่างกายได้เป็นอย่างดี วิธีการต่อสู้และป้องกันตนเองของไทย ซึ่งจะหาการต่อสู้ของชาติอื่นมาเทียบไม่ได้ การต่อสู้มือเปล่าของไทยเป็นศิลปะแห่งการต่อสู้ประจำชาติ เรียกว่า "มวยไทย"
มวยไทยเป็นศิลปะของการต่อสู้ป้องกันตัวได้จริงสามารถนำ ไปใช้ได้ทั้งในการต่อสู้และในการกีฬา ศิลปะประเภทนี้บรรพบุรุษของชาติไทยใช้อบรมสั่งสอนสืบทอดกันมาให้ดำรงอยู่ ตลอดไป บรรดาชายฉกรรจ์จะได้รับการสั่งสอนฝึกฝนศิลปะประเภทนี้อย่างจัดเจนทั้งสิ้น การใช้อาวุธรบสมัยโบราณ เช่น กระบี่ กระบอง ดาบ ง้าว ทวน ฯลฯ นักรบไทยจะนำไปประกอบการต่อสู้ที่มีชั้นเชิงสูง เดิมมักจะฝึกสอนกันเฉพาะบรรดาเจ้านายชั้นสูงนับตั้งแต่พระมหากษัตริย์และขุน นางฝ่ายทหารเท่านั้น
ต่อมาจึงแพร่หลายไปถึงสามัญชน ได้รับการถ่ายทอดวิทยาการจากครูอาจารย์ ซึ่งเดิมเป็นยอดทหารขุนพล ยอดนักรบของชาติมาแล้วได้ละเพศฆราวาสเข้าสู่เพศบรรพชิต พยายามถ่ายทอดวิทยาการให้แก่ศิษยานุศิษย์ และสืบเนื่องมาจากไทยมีศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ ครูอาจารย์ที่สอนอยู่ในเพศบรรพชิตจึงทำให้มวยไทยกับศาสนาพุทธมีความสัมพันธ์ กันจนแยกไม่ออก ซึ่งจะสังเกตได้จากก่อนการชก นักมวยจะมีการไหว้ครู ร่ายมนต์คาถาตามร่างกายก็มีเครื่องรางของขลัง เช่น ผ้าประเจียดรัดแขน หรือมงคลสวมศีรษะ เป็นต้น
มวยไทยเริ่มขึ้นในสมัยใดไม่ปรากฏ และไม่มีหนังสือเล่มใดเขียนไว้ว่าเกิดขึ้นในสมัยใดแต่เท่าที่ได้ปรากฏนั้น มวยไทยได้เกิดขึ้นมานานแล้ว และอาจเกิดขึ้นมาพร้อมๆ กับชาติไทยด้วยซ้ำ เพราะมวยไทยนั้นเป็นศิลปะประจำชาติของไทยเราจริงๆ ยากที่ชาติอื่นจะเลียนแบบได้
มวยไทยในสมัยก่อนเท่าที่ทราบจะมีการฝึกฝนอยู่ในบรรดา หมู่ทหาร เพราะในสมัยก่อนไทยเราได้มีการรบพุ่งและสู้รบกันกับประเทศเพื่อนบ้านบ่อยๆ การสู้รบในสมัยนั้นยังไม่มีปืนจะสู้กันมีแต่ดาบทั้งสองมือและมือเดียว เมื่อเป็นเช่นนี้การรบพุ่งก็ต้องมีการประชิดตัว คนไทยเห็นว่าการรบด้วยดาบนั้นเป็นการรบพุ่งที่ประชิดตัวมากเกินไป บางครั้งคู่ต่อสู้อาจจะเข้ามาฟันเราได้ง่ายขึ้น ทำให้แพ้คู่ต่อสู้ได้
ต่อมาเมื่อในหมู่ทหารได้รับการฝึกถีบ เตะแล้ว มีผู้คิดว่าทำอย่างไรเราจึงจะใช้การถีบ และเตะนั้นมาเป็นศิลปะสำหรับการต่อสู้ด้วยมือได้ จึงได้มีผู้ที่คิดจะฝึกหัดการต่อสู้ป้องกันตัวสำหรับการใช้แสดงเวลามีงาน เทศกาลต่างๆ ไว้อวดชาวบ้าน และเป็นของแปลกสำหรับชาวบ้าน เมื่อเป็นเช่นนี้มานานเข้าชาวบ้านหรือคนไทยได้เห็นการถีบ-เตะอย่างแพร่หลาย และบ่อยเข้า จึงทำให้ชาวบ้านมีการฝึกหัดมวยไทยกันมากจนถึงกับตั้งเป็นสำนักฝึกกันมากมาย แต่สำนักที่ฝึกมวยไทยก็ต้องเป็นสำนักดาบที่มีชื่อดีมาก่อนและมีอาจารย์ดีไว้ ฝึกสอน ดังนั้นมวยไทยสมัยนั้นจึงฝึกเพื่อมีความหมาย 2 อย่างคือ
1. เพื่อไว้สำหรับสู้รบข้าศึก
2. เพื่อไว้ต่อสู้ป้องกันตัว

กติการการแข่งขัน

การตรวจร่างกาย การจำแนกรุ่นและการชั่งน้ำหนัก
       ก.การตรวจร่างกาย
     ในเวลาของการชั่งน้ำหนักที่กำหนดไว้ผุ้แข่งขันต้องได้รับการตรวจร่างกายจาก แพทย์ที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริหารสมาคมมวยไทยสมัครเล่นแห่ง ประเทศไทย ว่าเป็นผุ้มีสุขภาพที่สมบูรณ์ก่อนที่ทำการชั่งน้ำหนักและอาจกำหนดไว้ทำการ ตรวจร่างกายก่อนชั่งน้ำหนักที่กำหนดไว้ก็ได้ ทั้งนี้เพื่อให้การชั่งน้ำหนักเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ถ้านักมวยคนใดไม่น้ำบัตรประจำตัวและสมุดนักมวยมาแสดงในขณะตรวจร่างกายชั่ง น้ำหนัก จะไม่อนุญาตให้ทำการแข่งขัน
     ข. การจำแนกรุ่นมี 19 รุ่นดังนี้
1. รุ่นพินเวท น้ำหนักต้องเกิน 93 ปอนด์ (42.272 กิโลกรัม) และไม่เกิน 100 ปอนด์ (45.454 กิโลกรัม)
2. รุ่นมินิฟลายเวท น้ำหนักต้องเกิน 100 ปอนด์ (45.454 กิโลกรัม) และไม่เกิน 105ปอนด์ (47.727 กิโลกรัม)
3. รุ่นไลท์ฟลายเวท น้ำหนักต้องเกิน 105 ปอนด์ (47.727 กิโลกรัม) และไม่เกิน 108 ปอนด์ (48.988 กิโลกรัม)
4. รุ่นฟลายเวท น้ำหนักต้องเกิน 108 ปอนด์ (48.988 กิโลกรัม) และไม่เกิน 112 ปอนด์ (50.802 กิโลกรัม)
5. รุ่นซูปเปอร์ฟลายเวท น้ำหนักต้องเกิน 112 ปอนด์ (50.802 กิโลกรัม) และไม่เกิน 115 ปอนด์ (52.163 กิโลกรัม)
6. รุ่นแบนตั้มเวท น้ำหนักต้องเกิน 115 ปอนด์ (52.163 กิโลกรัม) และไม่เกิน 118 ปอนด์ (53.524 กิโลกรัม)
7. รุ่นซูปเปอร์เบนยตั้มเวท น้ำหนักต้องเกิน 118 ปอนด์ (53.524 กิโลกรัม) และไม่เกิน 122 ปอนด์ (55.338 กิโลกรัม)
8. รุ่นเฟเธอร์เวท น้ำหนักต้องเกิน 122 ปอนด์ (55.338 กิโลกรัม) และไม่เกิน 126 ปอนด์ (57.153 กิโลกรัม)
9. รุ่นซูเปอร์เวท น้ำหนักต้องเกิน 126 ปอนด์ (57.153 กิโลกรัม) และไม่เกิน 130 ปอนด์ (58.967 กิโลกรัม)
10. รุ่นไลท์เวท น้ำหนักต้องเกิน 130 ปอนด์ (58.967 กิโลกรัม) และไม่เกิน 135 ปอนด์ (61.235 กิโลกรัม)
11. รุ่นซูปเปอร์ไลท์เวท น้ำหนักต้องเกิน 135 ปอนด์ (61.235 กิโลกรัม) และไม่เกิน 140 ปอนด์ (63.503 กิโลกรัม)
12. รุ่นเวลเตอร์เวท น้ำหนักต้องเกิน 140 ปอนด์ (63.503 กิโลกรัม) และไม่เกิน 147 ปอนด์ (66.678 กิโลกรัม)
13. รุ่นซูเปอร์เวลเตอร์เวท น้ำหนักต้องเกิน 147 ปอนด์ (66.678 กิโลกรัม) และไม่เกิน 154 ปอนด์ (69.853 กิโลกรัม)
14. รุ่นมิดเดิลเวท น้ำหนักต้องเกิน 154 ปอนด์ (69.853 กิโลกรัม) และไม่เกิน 160 ปอนด์ (71575 กิโลกรัม)
15. รุ่นซูเปอร์มิดเดิลเวท น้ำหนักต้องเกิน 160 ปอนด์ (71.575 กิโลกรัม) และไม่เกิน 168 ปอนด์ (76.374 กิโลกรัม)
16. รุ่นไลท์เฮฟวี่เวท น้ำหนักต้องเกิน 168 ปอนด์ (76.374 กิโลกรัม) และไม่เกิน 175 ปอนด์ (79.379 กิโลกรัม)
17. รุ่นครุยเซอเวท น้ำหนักต้องเกิน 175 ปอนด์ (79.379 กิโลกรัม) และไม่เกิน 190 ปอนด์ (86.183 กิโลกรัม)
18. รุ่นเฮฟวี่เวท น้ำหนักต้องเกิน 190 ปอนด์ (86.183 กิโลกรัม) และไม่เกิน 200 ปอนด์ (90.900 กิโลกรัม)
19. รุ่นซูเปอร์เฮวี่เวท น้ำหนักต้องเกิน 200 ปอนด์ขึ้นไป (90.900 กิโลกรัมขึ้นไป)
     หมายเหตุ.- ระดับเยาวชน เพิ่มรุ่น ดังนี้
1. รุ่นคอตตอนเวท น้ำหนักต้องเกิน 84 ปอนด์ (38.181 กิโลกรัม) และไม่เกิน 88 ปอนด์ (40 กิโลกรัม)
2. รุ่นเปเปอเวท น้ำหนักต้องเกิน 88 ปอนด์ (40 กิโลกรัม) และไม่เกิน 93 ปอนด์ (42.272 กิโลกรัม)
     นักมวยหญิง เริ่มตั้งแต่รุ่นพินเวท ถึงรุ่นเวลเตอเวท (12 รุ่น)
กติกาให้คะแนน 
การให้คะแนนมวยไทยสมัครเล่น มี 2 วิธี
     1. การให้คะแนนการตัดสินด้วยใบให้คะแนน (SCORING CARD)
หลักเกณฑ์การให้คะแนน การให้คะแนนต้องให้ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
          1.1 เกี่ยวกับการชก (อวัยวะที่ใช้ในการต่อสู้คือ หมัด เท้า เข่า ศอก)
              ก. การชกที่ได้คะแนน ในแต่ละยกผู้ตัดสินต้องคิดคะแนนให้แก่ผู้แข่งขันแต่ละขันแต่ละคน ตามจำนวนของการชกที่ถูกต้อง ตามแบบของมวยไทย เช่น ผู้แข่งขันจะกระแทรก ชก ตี เตะ ทุบ ถอง เหน็บ ถีบ ฯลฯ บริเวณทุกส่วนบนร่างกายคู่ต่อสู้ด้วยประการใดๆ ก็ได้ที่เข้าลักษณะของมวยไทย โดยปราศจากการป้องกันและทำให้ผู้แข่งขันเสียเปรียบถือว่าได้คะแนน ในการชกคลุกวงใน หรือการเข้าคลุกนั้น ต้องคิดคะแนนให้ผู้แข่งขันที่แลกอาวุธ (แม่ไม้มวยไทย คือ หมัด เข่า ศอก) ได้ถูกต้องมากกว่า ดีกว่า เมื่อสิ้นสุดการเข้าคลุกวงในกันนั้น
          ข.การชกที่ไม่ได้คะแนน มีดังนี้
              • การชกที่ละเมิดกติกาข้อหนึ่งข้อใด
              • ชกถูกแขน ขา ของคู่แข่งขัน อันเป็นลักษณะของการป้องกันของคู่แข่งขัน
              • ไม่มีน้ำหนักหรือแรงส่งจากร่างกาย
          1.2 เกี่ยวกับฟาวล์
               ก. ระหว่างการชกแต่ละยกผู้ตัดสินต้องคำนึงถึงความสำคัญของการฟาวล์ เตือนและตำหนิโทษตามสมควรในการฟาวล์เท่าที่ได้มองเห็น แม้ผู้ชี้ขาดจะเห็นหรือไม่ก็ตาม เมื่อผู้ชี้ขาดเตือนให้ใส่เครื่องหมาย(c) ในช่องที่แบ่งไว้ของผู้กระทำฟาวล์
               ข. การตำหนิโทษ ผู้ชี้ขาดสั่งตัดคะแนนผู้แข่งขันคนหนึ่ง ผู้ตัดสินอาจให้คะแนนอีกคนหนึ่งก็ได้ เมื่อผู้ตัดสินจะให้คะแนนแก่ผู้แข่งขันที่คู่ต่อสู้ฟาวล์ซึ่งถูกผู้ชี้ขาด สั่งตัดคะแนน ผู้ตัดสินต้องใส่ (w) ในช่องที่แบ่งไว้ข้างคะแนนของผู้ถูกสั่งตัดคะแนนเพื่อแสดงว่าเขาได้กระทำ เช่นนั้น ถ้าผู้ตัดสินไม่เห็นด้วยต้องใส่(x) ในช่องแบ่งไว้ข้างคะแนนของผู้แข่งขันที่ถูกตัดสินคะแนน
               ค.ถ้าผู้ตัดสินเห็นการฟาวล์อย่างชัดเจนโดยผู้ชี้ขาดไม่ได้สังเกตและตัดคะแนน ผู้แข่งขันที่กระทำฟาวล์ผู้ตัดสินจะต้องประเมินความรุนแรงของการฟาวล์ และตัดคะแนนในการกระทำฟาวล์ไปตามความเหมาะสม แม้ผู้ชี้ขาดจะไม่เห็นก็ตามผู้ตัดสินจะต้องแสดงให้เห็นว่านักมวยได้กระทำ เช่นนั้นโดยใส่ (J) ลงไปในช่องที่แบ่งไว้ทางด้านนักมวยที่กระทำผิด พร้อมทั้งระบุไว้ด้วยว่าทำผิดด้วยเหตุใด
          1.3 เกี่ยวกับการให้คะแนน
               ก. เมื่อสิ้นสุดแต่ละยก แต่ละยกมี 20 คะแนน ไม่มีการให้คะแนนเป็นเศษส่วน เมื่อสิ้นสุดแต่ละยกผู้แข่งขันที่ดีกว่า(มีทักษะมากกว่า) จะได้ 20 คะแนน และคู่แข่งขันจะได้ลดลงไปตามส่วนถ้าผู้แข่งขันทั้งสองฝ่ายชกตีเท่ากัน ให้คะแนนคนละ 20 คะแนน
               ข. เกณฑ์การคิดคะแนน การคิดคะแนนให้เป็นไปตามเกณฑ์ดังนี้คือ 1 คะแนนสำหรับอาวุธที่กระทำถูกต้อง 1 อาวุธ
               ค. เมื่อสิ้นสุดการแข่งขัน เมื่อการแข่งขันสิ้นสุดลงถ้าได้คะแนนแต่ละยกตามเกณฑ์ข้อ ก. และข้อ ข.
แล้วผู้ตัดสินพบว่าคะแนนของผู้แข่งขันทั้งสองฝ่ายเท่ากัน จะต้องพิจารณาตัดสินผลการแข่งขันให้แก่ผู้แข่งขันที่
                    • เป็นฝ่ายรุกมากที่สุด หรือถ้าเป็นฝ่ายรุกเท่ากันให้พิจารณาผู้ที่มีแบบการชกดีกว่า หรือถ้ายังเท่ากันอีก
                    • เป็นผู้มีการป้องกันดีกว่า (การปิดป้อง ปัด จับ รั้ง การหลบหลีก การฉาก ฯลฯ) จนคู่ต่อสู้ทำอะไรไม่ได้ (คือสามารถป้องกันอาวุธต่างๆ ของคู่ต่อสู้ให้พ้นจากอันตราย พลาดจากเป้าหมายไปได้)
                    • ในการแข่งขันทุกครั้งจะต้องมีการประกาศผู้ชนะ (แต่ในการแข่งขันครั้งเดียว อาจมีการประกาศผู้ชนะ (แต่ในการแข่งขันแบบแข่งขันครั้งเดียว อาจมีการประกาศผลเป็นเสมอกันได้)
     2. การให้คะแนนการตัดสินด้วยเครื่องไฟฟ้าหรือคอมพิวเตอร์(Use of electronic scoring machine)
วิธีการให้คะแนนการตัดสินด้วยเครื่องการใช้ไฟฟ้าหรือเครื่องการใช้คอมพิวเตอร์ผู้ปฏิบัติต้องปฏิบัติ ดังนี้
          1. ต้องมีผู้ตัดสิน 5 คน ทำหน้าที่ในการตัดสินข้างสังเวียน(judge 1- judge5)
          2. เมื่อผู้ตัดสินนั่งประจำที่ข้างสังเวียน ให้สำรวจความเรียบร้อย ของแป้นกด (Key board) (เจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ จะทำการติดตั้งเรียบร้อยแล้ว๗ ลักษณะของแป้นกดเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีปุ่มในการกดอยู่ 4 ปุ่ม ดังนี้
               • ด้านซ้ายมือสำหรับนักมวยมุมแดงมี 2 ปุ่ม ปุ่มบนสำหรับตัดคะแนน (w) ปุ่มล่างสำหรับกดให้คะแนน (p)
               • ด้านขวามือสำหรับนักมวยมุมน้ำเงินมี 2 ปุ่ม ปุ่มบนสำหรับคะแนน (w) ปุ่มล่างสำหรับกดให้คะแนน (p)
     3. ผู้ตัดสินทั้ง 5 คน จะต้องกดให้คะแนนแก่นักมวยที่กระทำได้อย่างถูกต้องตามกติกาหรือการใช้ทักษะมวยไทยที่ให้คะแนน
     4.ผู้ตัดสินที่กดปุ่มให้คะแนนแก่นักมวยที่กระทำได้ถูกต้องจะถูกบันทึกไว้ใน คอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นคะแนนข้อมูลของแต่ละบุคคล (INDIVIDUAL SCORE)
     5. คะแนนหรือข้อมูลจากการกดของผู้ตัดสินทั้ง 5 จะถูกบันทึกไว้และคำนวณออกมาเป็นผลขั้นสุดท้ายโดยอัตโนมัติ(ACEPTED SCORE)โดยคิดเฉพาะการกระทำที่ผู้ตัดสินให้คะแนนอย่างน้อย 3 ใน 5 บันทึกลงในเครื่องพร้อมกันภายใน 1 นาที (เห็นเหมือนกันอย่างน้อย 3 คนขึ้นไป ภายใน 1 วินาที เป็นหลักในการตัดสินผลการแข่งขัน)
     6. ผู้แข่งขันที่สามารถใช้อาวุธแม่ไม้มวยไทย ดังต่อไปนี้
          1. เตะด้วยส้นเท้าที่ศีรษะ ใบหน้า (จระเข้ฟาดหาง)
          2. โยนเข่าลอยที่ศีรษะ ใบหน้า
          3. ศอกกลับศีรษะ ใบหน้า
          4. เตะสูงที่ศีรษะ ใบหน้า (ก้านคอ) ได้ถูกต้องเข้าเป้าหมายมีน้ำหนัก จะได้คะแนนพิเศษเพิ่มขึ้น 3 คะแนนโดยพิจารณาการให้คะแนนจากการกดเครื่องไฟฟ้า โดยให้คณะลูกขุนพิจารณา
     7. คะแนนในแต่ละยกที่สมบูรณ์จะบันทึกรวมกันไปตลอดจนครบยกสุดท้าย ผู้กระทำได้ถูกต้องมากกว่าจะเป็นผู้ชนะโดยคะแนน
     8. นักมวยที่ถูกตัดคะแนน (WARING)คะแนนจะหายไป 2 คะแนน (มีค่าเท่ากับ 2 การกระทำ) ไปเพิ่มให้กับฝ่ายตรงข้าม
     9. คะแนนของผู้ตัดสินทั้ง 5 คน จะบันทึกจำนวนทักษะที่กระทำทั้งหมด จัดเก็บไว้ทั้งส่วน บุคคลและผลอย่างน้อย 3 คน
     10. ถ้าการชกสิ้นสุด ผลสุดท้ายคะแนนออกมาเสมอกัน จะ ต้องนำคะแนนดิบมาพิจารณา โดยตัดคะแนนส่วนบุคคลของผู้ตัดสินที่ให้คะแนนไว้สูงสูดและต่ำสุดออก แล้วนำคะแนนส่วนบุคคลของผู้ตัดสินที่เหลืออยู่ทั้ง 3 คน มารวมกัน นักมวยที่มีคะแนนรวมมากกว่าจะเป็นผู้ชนะ แต่ถ้ามีผลเสมอกันอีก ลูกขุน (JURY) จะให้ผู้ตัดสินทั้ง 5 คน พิจารณาครั้งสุดท้ายโดยการกดปุ่มบันทึกของแต่ละคนอีก 1 ครั้ง (ปุ่มแดงหรือปุ่มน้ำเงิน)
     11. การใช้ทักษะที่กระทำได้มากกว่าคู่ต่อสู้ จำนวน 25 คะแนน ถือว่ามีฝีมือเหนือกว่า ให้JURY แจ้งให้ REFEREE ยุติการแข่งขัน โดยให้สัญญากดออด และ REFEREE ยุติการแข่งขันฝีมือเหนือกว่าสำหรับเยาวชนหรือนักมวยหญิง จำนวน 20 คะแนน
     12. ถ้าเครื่องให้คะแนนขัดข้องต้องปฏิบัติ ดังนี้
          •ประธานคณะลูกขุน จะยุติการแข่งขัน 1 นาที ถ้ายังซ่อมเครื่องไม่ได้ให้แข่งขันต่อไป โดยให้คะแนนลูกขุน 3 หรือ 5 คน เป็นผู้ให้คะแนน
          ถ้าไม่สามารถซ่อมเครื่องได้ คณะลูกขุนสามารถตัดสินให้ใช้การตัดสินด้วยใบให้คะแนนสำหรับคู่มวยต่อไป
การใช้ทักษะมวยไทยสมัคเล่นที่ได้คะแนน
ผู้ตัดสินต้องพิจารณาจากการกระทำด้วยทักษะมวยไทย เช่น หมัด เท้า เข่า ศอก ดังนี้
          •ถูกเป้าหมายของมวยไทยสมัครเล่น
          •ปราศจากการป้องกันจากคู่ต่อสู้
          •มีน้ำหนักหรือแรงส่งจากหัวไหล่ ลำตัว สะโพก แขน หรือขา
          •ทักษะมวยไทยที่ใช้กระทำไม่ผิดกติกา (ฟาวล์)
สรุป     1. เห็นกด
           2. เข้าเป้า ปราศจากการป้องกัน
           3. มีน้ำหนัก
           4.ไม่ฟาวล์
ข้อมูลและภาพประกอบ
http://www.seagames2007.th

 

Home

Are You Ready ????
ยินดีต้อนรับ
http://jinnawat5250115066.blogspot.com/

Diary Picture

แบงค์ ปวริศร์ มงคลพิสิฐ 
(นักแสดง)
พี่ปั๊ป โปเตโต้
(ศิลปินสุดหล่อชื่อดัง)
น้าแหลม สลับลาย
                                                     (นักร้องใต้เพื่อชีวิต)
พี่แดง OK Mocca
(นักร้องแนวเพลงสกา)
พี่ยอร์ช
(ศิลปินวง OK Mocca)
แสนชัย  ส.แสนชัย
(ยอดมวยยุคนี้)
ทรงกรด ฌามา
(นักร้องค่าย R-siam)
The jukks
(นักร้องวง the jukks)

วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

About Me

ชื่อ จิณณวัตร   นวลมุล 
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
คณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ สาขา E-Commerce
ที่อยู่ 61 ม.3 ต.ชุมพล อ.ศรีนครินทร์ จ.พัทลุง 93000
E-mail : son_ecom@hotmail.com
Facebook : Jinnawat  Naunmul

การเลือกใช้สีสำหรับเว็บไซต์

เลือกใช้สีสำหรับเว็บไซต์

- สี สันในเว็บเพจเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการดึงดูดความสนใจของผู้ใช้ เนื่องจากสิ่งแรกที่ผู้ใช้มองเห็นจากเว็บก็คือสี ซึ่งเป็นสิ่งกำหนดบรรยากาศและความรู้สึกของเว็บไซต์
- เราสามารถใช้สีได้ทุกองค์ประกอบของเว็บเพจ ตั้งแต่ รูปภาพ ตัวอักษร  สีพื้นหลัง การใช้สีที่เหมาะสมจะช่วยในการสื่อความหมายของเนื้อหา
- การใช้สีพื้นใกล้เคียงกับสีตัวอักษร บางครั้งอาจสร้างความลำบากในการอ่าน
- การใช้สีที่มากเกินความจำเป็นอาจสร้างความสับสนให้กับผู้อ่านได้
- การใช้สีที่กลมกลืนกันช่วยให้เว็บไซต์น่าดูมากยิ่งขึ้น

ประโยชน์ของสีในเว็บไซต์

- สามารถชักนำสายตาผู้อ่านให้ไปยังทุกบริเวณในหน้าเว็บเพจที่เราต้องการได้
- สีช่วยเชื่อมโยงบรอเวณที่ได้รับการออกแบบเข้าด้วยกัน
- สีสามารถนำไปใช้ในการแบ่งบริเวณต่างๆออกจากกัน
- สีสามารถใช้ในการดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน
- สีสามารถสร้างอารมณ์โดยรวมของเว็บเพจ
- ช่วยสร้างระเบียบให้กับข้อความต่างๆ
- สามารถส่งเสริมเอกลักษณ์ขององค์กรหรือหน่วยงานนั้นๆ

การจัดรูปแบบตัวอักษรสำหรับเว็บไซต์

จัดรูปแบบตัวอักษรสำหรับเว็บไซต์

- ตัวอักษรมีความสำคัญในการสื่อข้อความถึงผู้ใช้
- ตัวอักษรมีหลายชนิด แต่ละชนิดจะให้อารมณ์และความรู้สึกที่แตกต่างกัน ควรเลีอกใช้ตัวอักษรให้เหมาะสมกับเนื้อหาและข้อมูลที่ต้องการสื่อสาร

การจัดข้อความในหน้าเว็บ
- การจัดตำแหน่ง
- ช่องว่างระหว่างตัวอักษร และช่องว่างระหว่างคำ
การจัดตำแหน่งแบบ justify ทำให้ช่องว่างของแต่ละคำแตกต่างไปในแต่ละบรรทัด ซึ่งอาจทำให้เกิดช่องว่างที่ไม่สวยงามได้
- ระยะห่างระหว่างบรรทัด
- ความยาวของหน้าเว็บ
- ขนาดของตัวอักษร
- ดึงดูดความสนใจด้วยอักษรขนาดใหญ่
- การเน้นข้อความให้เด่นชัด

การออกแบบเว็บไซต์ให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อม

การออกแบบเว็บไซต์ให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อม

- ผู้ใช้แต่ละคนมีสภาวะแวดล้อมทางเทคนิคแตกต่างกันไปตั้งแต่ระบบปฏิบัติการของ คอมพิวเตอร์ เบราเซอร์ที่ใช้ ความละเอียดของหน้าจอ และอื่นๆอีกมากมาย
- เราจะออกแบอย่างไรถึงจะเข้าได้กับสภาพแวดล้อมของผู้ใช้ทุกคน เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าชมเว็บได้อย่างราบรื่นปราศจากปัญหา

ปัจจัยหลักที่เกี่ยวข้องกับการท่องเว็บไซต์

- เบราเซอร์ที่ใช้
- ระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์
- ความละเอียดของหน้าจอ
- จำนวนสีที่จอของผู้ใช้สามารถแสดงได้
- ชนิดของตัวอักษรที่มีอยู่ในเครื่องของผู้ใช้
- ความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
- ขนาดหน้าต่างเบราเซอร์
- ความสว่างและค่าความต่างของโทนสี

Motor Classic


หน้าจวนผู้ว่าฯจังหวัดพัทลุง
ปั๊ม ปตท. คลองหมวย
แก๊งค์โบ๋เรานิ

Classic man

                                                                   




สถานีรถไฟพัทลุง
เดินทางไกลต้องโดฟกันหน่อย
บ่อนวัว Motor Classic

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

Wibiya Toolbar

Wibiya Toolbar

สมบัติของ Wibiya Toolbar
- สามารถค้นหาสิ่งที่ต้องการภายในบล็อก และ ค้นหาจาก google
- เชื่อมต่อบล็อคของคุณผ่าน Facebook
- ช่วยในการแปลภาษา
- เครื่องมือสำหรับแชร์บทความดีๆในบล็อกของคุณ
- เชื่อมต่อกับ Twitter และยังสามารถ tweet บทความไปยัง Twitter  ได้ด้วย
- แสดงบทความล่าสุดของบล็อกถึง 10 บทความ
- สามารถแสดงบทความแบบสุ่มเลือกจากบล็อกของคุณได้
- มีเมนูสำหรับให้ผู้อ่าน Subscript เพื่อรับ Feed บล็อกของคุณ
- แสดงรูปภาพจาก Gallery ใน Flickr
- เชื่อมต่อไปยังหน้าวีดีโอของคุณบน youtubeได้
- มีกล่องข้อความ Notifierสำหรับต้อนรับผู้เยี่ยมชม
วิธีติดตั้ง Wibiya Toolbar
1.ไปที่ wibiya.com แล้วคลิกที่ปุ่ม Get It Now! เพื่อลงทะเบียน
1.            
2. กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ในขั้นนี้ต้องใช้ e-mail จริงเพราะจะต้องมีการยืนยันการสมัครจาก e-mail ของคุณ และเลือกภาษาเป็น English เมื่อเสร็จแล้วคลิก Next
3. ในขั้นถัดมาเลือก Theme ที่เข้ากับ Template ของคุณ
ขั้นนี้นอกจากเลือก theme แล้วคุณยังสามารถเปลี่ยน icon ของ Toolbar โดย upload จากเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณได้


4. ต่อไปเลือก Application ต่าง ๆ ที่ต้องการให้ปรากฎบน Toolbar นี้
 
ถ้าต้องการลบเครื่องมือใดออกไปก็เพียงคลิกที่ icon นั้นก็ถือเป็นการลบ Application นั้นออกจาก toolbar ทันที
เมื่อทำครบที่ต้องการแล้วให้กด Next


5. เมื่อคลิก Next จากขั้นที่ 4 แล้ว จะปรากฎกล่องข้อความเพื่อให้เราใส่ รหัส user name หรือ feed สำหรับ Application ที่เราได้เลือกไว้

ให้กรอกข้อมูลต่างๆ ลงไปให้ครบ แล้วคลิกปุ่ม Done
ตัวอย่าง  ถ้าต้องการให้ Toolbar นี้เชื่อมโยงกับหน้า Fanpageบน Facebook ผมก็คลิกที่ icon Facebook แล้วใส่รหัส Fanpage ของ facebookลงไปเป็นต้นรหัส fanpageบน  facebook
 
6. ขั้นต่อมาเลือกแหล่งการติดตั้ง ให้เลือกตัวเลือก Install on websites and other blog platforms              
จากนั้นคัดลอกโค้ดเพื่อนำไปติดตั้งบน blogger
 
7. การนำโค้ดมาติดตั้งบน blogger ทำได้ดังนี้
Login เข้าไปที่ blogger>>ไปที่แผงควบคุม >> รูปแบบ >> แก้ไข HTML>>ไม่ต้องขยายแม่แบบเครื่องมือ
ค้นหาโค้ด </body> แล้ววางโค้ดที่ได้เตรียมไว้จากขั้นที่ 6 ลงไปก่อนหน้าโค้ดดังกล่าว แล้วบันทึกแม่แบบ ก็จบขั้นตอนการติดตั้งครับ

 
ตัวอย่างโค้ด
 
ผลลัพธ์ที่ได้ จากโค้ดที่ใส่จะได้  ดังภาพ




โค้ดราคาน้ำมัน



ขั้นตอนการวางโค้ด
1.เปิดหน้าที่ต้องการจะใส่ IFRAME โดยคลิ๊กที่ไอคอนแก้ไขหน้านี้  หรือจะเข้าไปที่เมนูบาร์ 5.1 ไฟล์เนื้อหาและคลิ๊กเลือกชื่อไฟล์ ที่ต้องการแก้ไข
2.ที่หน้าแก้ไข (editor) คลิ๊กเมาส์เลือกตำแหน่งที่ต้องการวางโค้ด
3.คลิ๊กไอคอนเครื่องมือเพิ่ม/แก้ไข script แล้ว copy โค้ดที่อยู่ด้านล่าง ใส่ที่ช่องวาง script
4.คลิ๊กปุ่ม ตกลง
5.คลิ๊กปุ่ม บรรทุกข้อมูล
โค้ด
<IFRAME src="http://www.pttplc.com/th/oilprice.asp" frameBorder=0 width=170 scrolling=no height=345></IFRAME>



นาฬิกาปลุกดิจิตอล(FLASH 8)

ขั้นแรก ทำส่วน metal fram และจอ LCD
1.เปิด new flash document ขนาด 364x60
2.วาดกล่องสี่เหลี่ยม ด้วยเครื่องมือ Rectangle tool (R) ขนาด350x45 pixel ไม่ต้องมีกรอบ สีไม่มีความสำคัญเพราะจะเปลี่ยนทีหลัง
3.ทำขอบด้านข้างของรูปสี่เหลี่ยมให้โค้งดังรูปด้านล่างโดยใช้เครื่องมือ Selection tool (V)
4.จากนั้นให้ไปที่ Color Mixer panel (Window>Color Mixer) ให้เลือก Fill color และเลือกประเภทเป็น Linear ให้เพิ่มสีโดยการคลิกขวา และกำหนดค่าสี  #575861, #E1E3FF,#FFFFFF,#D9DEE6,#596069,#9D9Ea3,#2A2B30
5. ใช้เครื่องมือ Paint Bucket (K)  เพื่อเติมสีให้กับ Frame โดยคลิกเมาท์ค้าง และลากจากบนลงล่าง
6.เมื่อได้แล้วให้กำหนดชื่อ layer นี้เป็น metal bar แล้ว lock layer นี้ไว้
7.สร้าง layer ใหม่ โดยให้ชื่อว่า lcd screen
8.ใช้ Rctangle tool (R) เพื่อวาดกล่องสี่เหลี่ยมขนาด 103x24  pixel โดยใช้โค้ดสี #7CC5C9 เพื่อเพิ่มความเหมือนจริง อาจเพิ่มกรอบโดยกำหนดเส้นให้ขอบซ้ายและด้านบนเป็นสีดำ ขอบด้านล่างและด้านขวาเป็นสี่เทา (F8hf#CCCCCC) เมื่อเสร็จแล้วจะได้
9.ให้ไปดาวน์โหลด quartz font ได้ที่http://www.fonts101.com/fonts/view/Brandname/15293/Quartz.aspx  เมื่อได้แล้วให้ install font นี้ไว้ในเครื่อง
ขั้นที่ 2 ส่วนของ text field
1.เพิ่ม layer ใหม่โดยให้ชื่อว่า faded numbers ใช้เครื่องมือ Text tool (T) กำหนด font เป็น Quartz ขนาด 26 และเลือกเป็น Static Text กำหนดสีเป็น #438A92 และ alpha 41% คลิกที่สกรีนแล้วใส่ ?88:88? ไม่ต้องใส่เครื่องหมายคำพูด วางตำแหน่งให้เหมาะสมจะได้
2. layer เดิม ให้เอาเมาท์ไปคลิกที่ text field แล้วกด Copy (Ctrl C)
3. Lock faded number layer และสร้าง layerใหม่ชื่อว่า numbers และให้ Paste text field ที่ copy มา (Edit>Paste in Place)ในส่วนของ Properties ให้เปลี่ยนประเภทเป็น Dynamic Text และกำหนดชื่อ text field นี้เป็น lcdScreen ทางด้านขวาจะมีปุ่ม Embed ให้คลิกเลือก Numbers และใส่ semicolon  และคลิก spacebar หนึ่งครั้ง สุดท้ายเปลี่ยนสี text field เป็นสีดำ (#000000)
Text field นี้จะถูกใช้เป็นตัวโชว์เวลา ให้สลับในตัวเลขใน text field นี้ออกแต่ให้คงขนาดความกว้าง text field ไว้Copy text field และ Lock layer นี้ไปเลย
4. สร้างlayer ใหม่ให้ชื่อว่า alarm text field Paste text field โดยให้ชื่อว่า alarmScreen และ Lock layer นี้เช่นกัน
5.สร้าง layer ใหม่โดยให้ชื่อว่า on/off/set faded โดยใช้ font เป็น Arial ขนาด 6 สีดำโค้ด #43A92 และ alpha 41% ทำให้เป็นตัวหนา เปลี่ยน text field type เป็น Staic Text สร้าง ? text field :ON,OFFและ SET แยกกัน โดยกำหนดตำแหน่ง
6. เลือก text field ทั้งสามและ Copy แล้ว lock layer นี้ไปเลย จากนั้นสร้าง lsyer ใหม่ให้ชื่อว่า on/off/set black และ Paste text field ทั้ง3 ที่นี่เลย โดยเปลี่ยนสีให้เป็นสีดำ แล้ว unselect
Convert แต่ละ  text field ให้เป็น movie clip เพื่อให้สามารถเปิดมันได้ทีหลัง ดังนั้น text fieldตัวแรก ให้คลิกที่ ON แล้วเลือกไปที่ Modify >Convert Symbol จากนั้นให้เลือกเป็น movie clip ให้ชื่อว่า alarm on sign ทำเช่นเดียวกับอีกสองตัวที่เหลือโดยให้ชื่อว่า alarm off sign และ set alarm sign
ขั้นที่ 3 เซตปุ่มนาฬิกา
1. สร้าง layer ใหม่ให้ชื่อว่า labels ใช้เครื่องมือ text tool เลือก font สวยๆ อย่าง Fixed_v01 ดาวน์โหลดได้ที่นี่ กำหนดขนาด 8 สีขาวและประเภทเป็น Static Text พิมพ์
ALARM: ON OFF     SET MIN HRS
2. Copy text field และ Paste ใน layer นี้ โดยให้เปลี่ยนสีตัวหนังสือเป็นสีดำ และวางเหลื่อมขึ้นไปด้านบน 1 pixel และด้านซ้าย 1 pixel ถึงตรงนี้ลองทดสอบนาฬิกา โดยให้ไปที่ Control > Test Movie ?ถ้าได้เหมือนภาพด้านล่างถือว่าถูกต้อง
3. สร้าง layer ใหม่ ให้ชื่อว่า buttons Zoom in จะช่วยให้ทำได้ง่ายขึ้นสร้าง invisible button ทับ label ONโดยการวาดสีเหลี่ยมทับ Rectangle tool (R)
เมื่อวาดสี่เหลี่ยมแล้วให้กด F8 เพื่อ convert เป็น symbol โดยเลือประเภทเป็น button ในหน้าต่างของ Convert to Symbol โดยให้ชื่อว่า invisible botton
4. Double-click ที่ button ที่คุณพึ่งสร้างขึ้นมา คุณจะได้ timeline ของปุ่มดังรูป
คลิกที่ Up keyframe และลากไปที่ Hit keyframe จะได้
5. Copy button และ Pastes 4 ครั้ง แล้วนำไปวางตามปุ่มต่างๆ โดยสามารถปรับขนาดให้เหมาะสมกับแต่ละตัวได้โดยใช้ Free Transform tool (Q) จะได้
6. ให้กำหนดชื่อของแต่ละปุ่มดังนี้ โดยเรียงจากซ้ายไปขวา ?alarmOn, alarmOff, setAlarm, setMins, setHrs จะเปลี่ยนชื่อก็ได้แต่สิ่งสำคัญคือแต่ละปุ่มจะต้องชื่อไม่ซ้ำกัน lock layer นี้ได้เลย


ขั้นที่ 4 เป็นการใส่เสียงปลุก
ดาวน์โหลดเสียงได้ที่ http://www.lukamaras.com/tutorials/cool-design/materials/alarm.zip Unpack ก่อน
1. กลับไปที่ flash เลือก File > Import > Import to Library หา alarm.wav ที่คุณพึ่งดาวน์โหลดมา
2. คลิกขวาที่ alarm.wav  และเลือก Linkage จะได้หน้าต่างดังภาพด้านล่าง ให้คลิกที่ "Export for ActionScript" box ส่วน "Export in first frame" จะถูกเช็คโดยอัตดนมัติ? กำหนดชื่อเป็น digitalAlarm คลิก OK
3. คลิกขวาที่ alarm.wav? อีกครั้งและเลือก Export Settings เลือก MP3 และset Bit rate เป็น 16 kbps และ Quality to Medium คลิก OK